ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต
http://www.free108.net เปลี่ยนเป็น http://www.free108.info :: ความรู้, บทความที่น่าสนใจ :: สิ่งมงคลเสริมดวงชะตา และ โหราศาสตร์
หน้า 1 จาก 1
ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต
บทความ-สารคดี
โดย กาญจนา นาคสกุล
ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต
ภาษาบาลี
เรามักเชื่อกันตามประเพณีนิยมว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีเทศน์โปรดคนทั้งปวง แต่ความเป็นจริงมีอยู่ว่า คำว่า บาลีในความหมายที่เข้าใจกันกันในปัจจุบันว่าหมายถึง “ภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎกฉบับเถรวาท” นั้นเป็นความหมายที่เกิดขึ้นภายหลัง
ความหมายเดิมของคำว่า บาลี นั้นหมายถึง “พระไตรปิฎก” โดยตรง หลักฐานจากคัมภีร์พระไตรปิฎกหลายแห่งยืนยันว่า คำว่า พระบาลี เดิมหมายถึง “พระพุทธวจนะ” หรือ “พระไตรปิฎก”
ภายหลังความหมายของคำว่า บาลี จึงเลื่อนขยายออกมาหมายถึง “ภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เทศนา” และหมายถึง “ภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก” ด้วย ต่อมาคนทั่วไปรู้จักคำว่าบาลีแต่เฉพาะความหมายที่เพิ่มขึ้นทีหลัง นั่นคือ คำว่าบาลีได้กลายเป็นชื่อเรียกภาษาหนึ่งขึ้นมา
สรุปว่า คำว่า บาลี หรือ พระบาลี เดิมมิได้เป็นชื่อเรียกภาษา หากแต่ใช้เรียกพระพุทธวจนะ ต่อมาพระพุทธวจนะได้รับการรวบรวมเป็นหมวดหมู่หรือที่เรารู้จักต่อมาว่า พระไตรปิฎก คำว่า พระบาลี จึงหมายถึง “พระไตรปิฎก” ด้วย จากนั้นจึงค่อยหมายถึง “ภาษาอย่างที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นแบบอย่างในการแต่งคัมภีร์พุทธศาสนาประเภทอรรถกถาและประเภทอื่นๆ ต่อมา
คำว่า บาลี แปลว่า “แถว” หรือ “แนว” ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานประการหนึ่งที่น่าเชื่อถือว่า ภาษาบาลีเป็น “ภาษาที่ใช้พูดตามแนวรอยต่อระหว่างแคว้นต่างๆ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดตามแนวรอยต่อระหว่างแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลกับแคว้นอื่นๆ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นมคธ
การที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงเลือกภาษาของแคว้นใดแคว้นหนึ่งเป็นสื่อในการเผยแพร่พระธรรม ก็เพราเกรงว่าจะทำให้ผู้อยู่ต่างแคว้นไม่เข้าใจ หรือเข้าใจพระธรรมคำสอนอันลึกซึ้งของพระองค์คลาดเคลื่อนไป
พระองค์จึงทรงเลือกเอาภาษาที่ใช้ตามแนวต่อระหว่างแคว้นเป็นภาษากลางในการประกาศธรรม เพราะเป็นภาษาที่ผู้อาศัยอยู่ตามแนวระหว่างแคว้นทั้งสองสามารถเข้าใจร่วมกันได้ และการที่ทรงเลือกเอาภาษาที่ใช้ตามแนวต่อของแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ เป็นหลัก ก็เพราะแคว้นมคธเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น
เหตุที่พระพุทธองค์ทรงเลือกภาษาที่ใช้ตามแนวต่อของแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ เป็นหลัก ทำให้ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ มีลักษณะของภาษามาคธี ซึ่งเป็นภาษาประจำแคว้นมคธปนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาบาลีรุ่นเก่าที่สุดที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกหมวดเก่าๆ อย่างธรรมบท สุตตนิบาต และบรรดาคาถาต่างๆ เป็นต้น
ภาษาที่ใช้สื่อกันในหมู่ชาวแคว้นมคธนั้น ที่จริงเรียกว่าภาษามาคธี แปลว่า “ภาษาที่ใช้ในแคว้นมคธ” ผู้วิเคราะห์ทางภาษากล่าวว่าภาษามาคธีมีลักษณะแตกต่างจากภาษาบาลีมาก ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือภาษามาคธีไม่มีเสียง ร มีแต่เสียง ล แต่ภาษาบาลีมีทั้ง ๒ เสียง ภาษามาคธีหรือภาษาที่ชาวแคว้นมคธีใช้จึงไม่ใช่ภาษาบาลีและไม่เรียกว่าภาษาบาลี
หากพิจารณาด้านไวยากรณ์ ภาษาบาลีมีโครงรูปทางไวยากรณ์ที่เก่ากว่าภาษามาคธี คำบางคำในภาษาบาลีสามารถรักษารูปของคำที่เก่าย้อนไปไกลกว่าภาษาสันสกฤต แม้ลักษณะโดยทั่วไปของภาษาบาลีจะซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตก็ตาม
นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาบาลีไว้ในกลุ่มภาษาอินเดีย-อิหร่านยุคกลางตอนต้น ส่วนภาษามาคธีเป็นภาษาอินเดีย-อิหร่านยุคกลางตอนกลาง ภาษาอินเดีย-อิหร่าน คือภาษาส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ในอินเดียและภาษาที่ใช้ในเปอร์เซียโบราณ ภาษาอินเดีย-อิหร่านเป็นภาษากลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของภาษาตระกูลอินเดีย-ยุโรป
ภาษาบาลีที่ใช้ในพระไตรปิฎกเป็นแบบอย่างของภาษาที่ใช้ในคัมภีร์รุ่นต่อมา เช่น คัมภีร์อรรถกถา ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ใช้อธิบายพระไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ด้วยเหตุที่เป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก และคัมภีร์พุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆ ส่วนคัมภีร์พุทธศาสนานิกายมหายานจะบันทึกด้วยภาษาสันสกฤต
โดย กาญจนา นาคสกุล
ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต
ภาษาบาลี
เรามักเชื่อกันตามประเพณีนิยมว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีเทศน์โปรดคนทั้งปวง แต่ความเป็นจริงมีอยู่ว่า คำว่า บาลีในความหมายที่เข้าใจกันกันในปัจจุบันว่าหมายถึง “ภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎกฉบับเถรวาท” นั้นเป็นความหมายที่เกิดขึ้นภายหลัง
ความหมายเดิมของคำว่า บาลี นั้นหมายถึง “พระไตรปิฎก” โดยตรง หลักฐานจากคัมภีร์พระไตรปิฎกหลายแห่งยืนยันว่า คำว่า พระบาลี เดิมหมายถึง “พระพุทธวจนะ” หรือ “พระไตรปิฎก”
ภายหลังความหมายของคำว่า บาลี จึงเลื่อนขยายออกมาหมายถึง “ภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เทศนา” และหมายถึง “ภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก” ด้วย ต่อมาคนทั่วไปรู้จักคำว่าบาลีแต่เฉพาะความหมายที่เพิ่มขึ้นทีหลัง นั่นคือ คำว่าบาลีได้กลายเป็นชื่อเรียกภาษาหนึ่งขึ้นมา
สรุปว่า คำว่า บาลี หรือ พระบาลี เดิมมิได้เป็นชื่อเรียกภาษา หากแต่ใช้เรียกพระพุทธวจนะ ต่อมาพระพุทธวจนะได้รับการรวบรวมเป็นหมวดหมู่หรือที่เรารู้จักต่อมาว่า พระไตรปิฎก คำว่า พระบาลี จึงหมายถึง “พระไตรปิฎก” ด้วย จากนั้นจึงค่อยหมายถึง “ภาษาอย่างที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นแบบอย่างในการแต่งคัมภีร์พุทธศาสนาประเภทอรรถกถาและประเภทอื่นๆ ต่อมา
คำว่า บาลี แปลว่า “แถว” หรือ “แนว” ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานประการหนึ่งที่น่าเชื่อถือว่า ภาษาบาลีเป็น “ภาษาที่ใช้พูดตามแนวรอยต่อระหว่างแคว้นต่างๆ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดตามแนวรอยต่อระหว่างแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลกับแคว้นอื่นๆ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นมคธ
การที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงเลือกภาษาของแคว้นใดแคว้นหนึ่งเป็นสื่อในการเผยแพร่พระธรรม ก็เพราเกรงว่าจะทำให้ผู้อยู่ต่างแคว้นไม่เข้าใจ หรือเข้าใจพระธรรมคำสอนอันลึกซึ้งของพระองค์คลาดเคลื่อนไป
พระองค์จึงทรงเลือกเอาภาษาที่ใช้ตามแนวต่อระหว่างแคว้นเป็นภาษากลางในการประกาศธรรม เพราะเป็นภาษาที่ผู้อาศัยอยู่ตามแนวระหว่างแคว้นทั้งสองสามารถเข้าใจร่วมกันได้ และการที่ทรงเลือกเอาภาษาที่ใช้ตามแนวต่อของแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ เป็นหลัก ก็เพราะแคว้นมคธเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น
เหตุที่พระพุทธองค์ทรงเลือกภาษาที่ใช้ตามแนวต่อของแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ เป็นหลัก ทำให้ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ มีลักษณะของภาษามาคธี ซึ่งเป็นภาษาประจำแคว้นมคธปนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาบาลีรุ่นเก่าที่สุดที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกหมวดเก่าๆ อย่างธรรมบท สุตตนิบาต และบรรดาคาถาต่างๆ เป็นต้น
ภาษาที่ใช้สื่อกันในหมู่ชาวแคว้นมคธนั้น ที่จริงเรียกว่าภาษามาคธี แปลว่า “ภาษาที่ใช้ในแคว้นมคธ” ผู้วิเคราะห์ทางภาษากล่าวว่าภาษามาคธีมีลักษณะแตกต่างจากภาษาบาลีมาก ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือภาษามาคธีไม่มีเสียง ร มีแต่เสียง ล แต่ภาษาบาลีมีทั้ง ๒ เสียง ภาษามาคธีหรือภาษาที่ชาวแคว้นมคธีใช้จึงไม่ใช่ภาษาบาลีและไม่เรียกว่าภาษาบาลี
หากพิจารณาด้านไวยากรณ์ ภาษาบาลีมีโครงรูปทางไวยากรณ์ที่เก่ากว่าภาษามาคธี คำบางคำในภาษาบาลีสามารถรักษารูปของคำที่เก่าย้อนไปไกลกว่าภาษาสันสกฤต แม้ลักษณะโดยทั่วไปของภาษาบาลีจะซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตก็ตาม
นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาบาลีไว้ในกลุ่มภาษาอินเดีย-อิหร่านยุคกลางตอนต้น ส่วนภาษามาคธีเป็นภาษาอินเดีย-อิหร่านยุคกลางตอนกลาง ภาษาอินเดีย-อิหร่าน คือภาษาส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ในอินเดียและภาษาที่ใช้ในเปอร์เซียโบราณ ภาษาอินเดีย-อิหร่านเป็นภาษากลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของภาษาตระกูลอินเดีย-ยุโรป
ภาษาบาลีที่ใช้ในพระไตรปิฎกเป็นแบบอย่างของภาษาที่ใช้ในคัมภีร์รุ่นต่อมา เช่น คัมภีร์อรรถกถา ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ใช้อธิบายพระไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ด้วยเหตุที่เป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก และคัมภีร์พุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆ ส่วนคัมภีร์พุทธศาสนานิกายมหายานจะบันทึกด้วยภาษาสันสกฤต
บา- ผู้มาเยือน
Re: ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต
ภาษาสันสกฤต
คนไทยมักเรียกภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตไปด้วยกันว่า ภาษาบาลีสันสกฤต จนบางคนเข้าใจผิดว่าภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเดียวกัน ที่จริงภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลอินเดีย-อิหร่านเหมือนกันก็ตาม
ในด้านประวัติของภาษา ภาษาสันสกฤตมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ฤคเวทมาก นักภาษาศาสตร์เรียกภาษาในคัมภีร์ฤคเวทและพระเวทอื่นๆ ว่า ภาษาพระเวท ส่วนภาษาสันสกฤตนั้นหมายถึงภาษาที่พัฒนามาจากภาษาและพระเวทโดยตรง
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่นักไวยากรณ์อินเดียชื่อ ปาณินิ ได้เขียนตำราไวยากรณ์ความยาว ๘ บท บรรยายลักษณะไว้ เมื่อประมาณกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนอินเดียรุ่นต่อมานิยมว่าภาษาที่ปาณินิเขียนไวยากรณ์อธิบายลักษณะไว้นี้มีความงดงามและถูกต้อง จึงใช้เป็นแบบอย่างในงานประพันธ์ของตน ภาษานี้รู้จักในชื่อว่าภาษาสันสกฤต แปลว่า “ภาษาที่ได้รับการตกแต่งแล้วอย่างดี” วรรณกรรมส่วนใหญ่ของอินเดียโบราณนิยมแต่งด้วยภาษาสันสกฤต ถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของผู้ทรงภูมิรู้
ผู้ใช้ภาษาสันสกฤตได้ถูกต้อง จึงได้รับการยกย่อง ขณะเดียวกันผู้ไม่รู้ภาษาสันสกฤต หรือรู้อย่างงูๆ ปลาๆ ก็จะถูกสบประมาท ความรู้ภาษาสันสกฤตนั้นจำกัดอยู่ในวงแคบคือใช้กันในหมู่พราหมณ์ผู้ทำพิธีกรรมและใช้ในราชสำนักเท่านั้น
แม้ว่าเมืองไทยจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งคัมภีร์สำคัญทางศาสนาจะใช้ภาษาบาลีบันทึก แต่ภาษาไทยก็มิได้รับแต่ภาษาบาลีมาใช้ หากยังรับคำภาษาสันสกฤตมาใช้จำนวนมากด้วย ทั้งนี้เพราะดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒ ภาษาสันสกฤต ซึ่งมากับความคิด ความเชื่อ ของพราหมณ์และพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงได้แพร่หลายอยู่ทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่ดินแดนแถบนี้จะรับเอาพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาเข้ามา
ด้วยเหตุที่ภาษาสันสกฤตแพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว คนในถิ่นนี้จึงคุ้นเคยกับคำสันสกฤตมากกว่าคำภาษาบาลี ดังจะเห็นได้จากคำศัพท์สามัญในพระพุทธศาสนาและชื่อเฉพาะต่างๆ ที่นิยมเขียนด้วยรูปคำสันสกฤตมากกว่ารูปคำภาษาบาลี เช่นคำว่า ศาสนา กรรม ศีล ภิกษุ ไตรลักษณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ นครราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นต้น วรรณกรรมพุทธศาสนาของไทยก็นิยมใช้รูปคำสันสกฤตมากกว่ารูปคำภาษาบาลี ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้มุ่งศึกษาแต่เพียงภาษาบาลี แต่ได้ศึกษาภาษาสันสกฤตควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้แล้วคำส่วนใหญ่ในภาษาสันสกฤต ยังสามารถรักษารูปคำในสมัยเก่าไว้ได้มากกว่าคำภาษาบาลี ทั้งยังมีลักษณะทางไวยากรณ์ที่ซับซ้อนกว่า และมีข้อยกเว้นน้อยกว่าภาษาบาลี การศึกษาภาษาสันสกฤตจึงช่วยในการเข้าใจภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี
การอ่านภาษาบาลีที่บันทึกด้วยตัวอักษรไทย
การอ่านภาษาบาลีที่ใช้ตัวอักษรไทยบันทึก ไม่มีความยุ่งยากใดๆ เลย ก่อนอื่นต้องเรียนรู้เครื่องหมายพิเศษที่ใช้ในการเขียนคำบาลี เครื่องหมายพิเศษนี้มีอยู่ ๒ รูป คือ พินทุ หรือเครื่องหมายจุดทึบที่เขียนใต้พยัญชนะ กับ นิคหิต หรือ จุดกลางเป็นวงกลมเล็กๆ ที่เขียนเหนือตัวพยัญชนะ หรือเขียนเหนือตัวพยัญชนะที่มีรูปสระ อิ กำกับ
ในการใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นเราไม่นิยมเขียนรูปสระอะ หรือที่เรียกว่าไม่นิยมประวิสรรชนีย์ ตัวพยัญชนะที่ปรากฏตามลำพังให้ออกเสียงประสมสระอะ โดยไม่ต้องเขียนรูปสระอะ เช่น เขียน ภว อ่านว่า ภะ-วะ เขียน สรณ อ่านว่า สะ-ระ-ณะ เป็นต้น
พยัญชนะตัวใดมีรูปสระกำกับ ก็อ่านไปตามรูปสระนั้น เช่น กิริยา ก็อ่านว่า กิ-ริ-ยา ปุริส อ่านว่า ปุ-ริ-สะ หิริ อ่านว่า หิ-ริ
ตัวพยัญชนะที่มีจุดทึบอยู่ข้างใต้ให้อ่านเป็นตัวสะกด เช่น กมฺม อ่านว่า กัม-มะ คำมีจุดกลวงอยู่ข้างบนก็ให้อ่านเป็น ง สะกด เช่น ก อ่านว่า กัง กิ อ่านว่า กิง กํ อ่านว่า กุง อรหํ สมฺมา สฺมพุทโธ ภควา อ่านว่า อะระหัง สัมมา สัมพุทฺโธ ภะคะวา
พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ อ่านว่า พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
อนึ่ง ตัวพยัญชนะ ท ในภาษาบาลี บางท่านอาจออกเสียง ด เช่น อภิวาเทมิ อ่านว่า อะพิวาเดมิ ก็ได้
คนไทยมักเรียกภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตไปด้วยกันว่า ภาษาบาลีสันสกฤต จนบางคนเข้าใจผิดว่าภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเดียวกัน ที่จริงภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลอินเดีย-อิหร่านเหมือนกันก็ตาม
ในด้านประวัติของภาษา ภาษาสันสกฤตมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ฤคเวทมาก นักภาษาศาสตร์เรียกภาษาในคัมภีร์ฤคเวทและพระเวทอื่นๆ ว่า ภาษาพระเวท ส่วนภาษาสันสกฤตนั้นหมายถึงภาษาที่พัฒนามาจากภาษาและพระเวทโดยตรง
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่นักไวยากรณ์อินเดียชื่อ ปาณินิ ได้เขียนตำราไวยากรณ์ความยาว ๘ บท บรรยายลักษณะไว้ เมื่อประมาณกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนอินเดียรุ่นต่อมานิยมว่าภาษาที่ปาณินิเขียนไวยากรณ์อธิบายลักษณะไว้นี้มีความงดงามและถูกต้อง จึงใช้เป็นแบบอย่างในงานประพันธ์ของตน ภาษานี้รู้จักในชื่อว่าภาษาสันสกฤต แปลว่า “ภาษาที่ได้รับการตกแต่งแล้วอย่างดี” วรรณกรรมส่วนใหญ่ของอินเดียโบราณนิยมแต่งด้วยภาษาสันสกฤต ถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของผู้ทรงภูมิรู้
ผู้ใช้ภาษาสันสกฤตได้ถูกต้อง จึงได้รับการยกย่อง ขณะเดียวกันผู้ไม่รู้ภาษาสันสกฤต หรือรู้อย่างงูๆ ปลาๆ ก็จะถูกสบประมาท ความรู้ภาษาสันสกฤตนั้นจำกัดอยู่ในวงแคบคือใช้กันในหมู่พราหมณ์ผู้ทำพิธีกรรมและใช้ในราชสำนักเท่านั้น
แม้ว่าเมืองไทยจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งคัมภีร์สำคัญทางศาสนาจะใช้ภาษาบาลีบันทึก แต่ภาษาไทยก็มิได้รับแต่ภาษาบาลีมาใช้ หากยังรับคำภาษาสันสกฤตมาใช้จำนวนมากด้วย ทั้งนี้เพราะดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒ ภาษาสันสกฤต ซึ่งมากับความคิด ความเชื่อ ของพราหมณ์และพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงได้แพร่หลายอยู่ทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่ดินแดนแถบนี้จะรับเอาพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาเข้ามา
ด้วยเหตุที่ภาษาสันสกฤตแพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว คนในถิ่นนี้จึงคุ้นเคยกับคำสันสกฤตมากกว่าคำภาษาบาลี ดังจะเห็นได้จากคำศัพท์สามัญในพระพุทธศาสนาและชื่อเฉพาะต่างๆ ที่นิยมเขียนด้วยรูปคำสันสกฤตมากกว่ารูปคำภาษาบาลี เช่นคำว่า ศาสนา กรรม ศีล ภิกษุ ไตรลักษณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ นครราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นต้น วรรณกรรมพุทธศาสนาของไทยก็นิยมใช้รูปคำสันสกฤตมากกว่ารูปคำภาษาบาลี ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้มุ่งศึกษาแต่เพียงภาษาบาลี แต่ได้ศึกษาภาษาสันสกฤตควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้แล้วคำส่วนใหญ่ในภาษาสันสกฤต ยังสามารถรักษารูปคำในสมัยเก่าไว้ได้มากกว่าคำภาษาบาลี ทั้งยังมีลักษณะทางไวยากรณ์ที่ซับซ้อนกว่า และมีข้อยกเว้นน้อยกว่าภาษาบาลี การศึกษาภาษาสันสกฤตจึงช่วยในการเข้าใจภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี
การอ่านภาษาบาลีที่บันทึกด้วยตัวอักษรไทย
การอ่านภาษาบาลีที่ใช้ตัวอักษรไทยบันทึก ไม่มีความยุ่งยากใดๆ เลย ก่อนอื่นต้องเรียนรู้เครื่องหมายพิเศษที่ใช้ในการเขียนคำบาลี เครื่องหมายพิเศษนี้มีอยู่ ๒ รูป คือ พินทุ หรือเครื่องหมายจุดทึบที่เขียนใต้พยัญชนะ กับ นิคหิต หรือ จุดกลางเป็นวงกลมเล็กๆ ที่เขียนเหนือตัวพยัญชนะ หรือเขียนเหนือตัวพยัญชนะที่มีรูปสระ อิ กำกับ
ในการใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นเราไม่นิยมเขียนรูปสระอะ หรือที่เรียกว่าไม่นิยมประวิสรรชนีย์ ตัวพยัญชนะที่ปรากฏตามลำพังให้ออกเสียงประสมสระอะ โดยไม่ต้องเขียนรูปสระอะ เช่น เขียน ภว อ่านว่า ภะ-วะ เขียน สรณ อ่านว่า สะ-ระ-ณะ เป็นต้น
พยัญชนะตัวใดมีรูปสระกำกับ ก็อ่านไปตามรูปสระนั้น เช่น กิริยา ก็อ่านว่า กิ-ริ-ยา ปุริส อ่านว่า ปุ-ริ-สะ หิริ อ่านว่า หิ-ริ
ตัวพยัญชนะที่มีจุดทึบอยู่ข้างใต้ให้อ่านเป็นตัวสะกด เช่น กมฺม อ่านว่า กัม-มะ คำมีจุดกลวงอยู่ข้างบนก็ให้อ่านเป็น ง สะกด เช่น ก อ่านว่า กัง กิ อ่านว่า กิง กํ อ่านว่า กุง อรหํ สมฺมา สฺมพุทโธ ภควา อ่านว่า อะระหัง สัมมา สัมพุทฺโธ ภะคะวา
พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ อ่านว่า พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
อนึ่ง ตัวพยัญชนะ ท ในภาษาบาลี บางท่านอาจออกเสียง ด เช่น อภิวาเทมิ อ่านว่า อะพิวาเดมิ ก็ได้
sunsakid- ผู้มาเยือน
http://www.free108.net เปลี่ยนเป็น http://www.free108.info :: ความรู้, บทความที่น่าสนใจ :: สิ่งมงคลเสริมดวงชะตา และ โหราศาสตร์
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Sun Oct 25, 2015 11:45 pm by free108
» Windows 7 รุ่นไหนเหมาะกับการใช้งานของคุณ
Fri Nov 07, 2014 6:27 pm by free108
» Blade 3 Trinity (ภาคไทย)
Tue Apr 01, 2014 12:51 am by free108
» jack ยอดคนสืบระห่ำ
Tue Apr 01, 2014 12:47 am by free108
» โปรปั้ม @cash+Perfect ครับ ใช้ได้ครับ โหลดได้เลยครับ
Mon Nov 12, 2012 11:26 pm by name2515
» โปรauditionปั้ม+เดน พร้อมที่วิธีใช้งาน
Mon Nov 12, 2012 11:24 pm by name2515
» [แจกแล้ว]Audition Agent 5.0 Cyber Generation โหลดเลย
Thu Nov 01, 2012 4:15 am by lultarima
» โปรauditionปั้ม+เดน พร้อมที่วิธีใช้งาน
Fri Oct 26, 2012 9:00 am by venusbtg
» โปรปั้ม @cash+Perfect ครับ ใช้ได้ครับ โหลดได้เลยครับ
Sat Oct 13, 2012 12:40 am by paulskybas